🤔 เคลียร์ข้อสงสัย PDPA (Personal Data Protection Act) ⚖
🤔 เคลียร์ข้อสงสัย PDPA (Personal Data Protection Act) ⚖
CIVILI MALL
June 29, 2022 | อ่าน 669 ครั้้ง
📣 กฎหมายใหม่ #PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ. #คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
📱 เริ่มบังคับใช้ 1 มิ.ย. 65
🧭 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน เกี่ยวกับการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้อย่างโปร่งใส และได้รับการดูแลไม่ให้มีการนำข้อมูลไปใช้งานในทางที่ผิด 🧑⚖
✨ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกันค่าาา
📰 พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ และไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) คือกฎหมายใหม่ที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เช่น การซื้อขายข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ที่มักพบได้มากในรูปแบบการโทรมาโฆษณา หรือล่อลวง
🤔 ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปรวมกับเพื่อนในที่สาธารณะแล้วติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมผิดหรือไม่ ?
👉 การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดบุคคลอื่น โดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้
ถ้าวัตถุประสงค์ตอนถ่ายเน้นที่ตัวเราและเพื่อนเป็นหลัก ซึ่งการมีภาพคนอื่นติดเป็นฉากหลังโดยที่เราไม่ตั้งใจ "ไม่ผิด“
เพราะการจะผิดกฎหมายได้ต้องมีความจงใจหรือเจตนา
🤔 ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิดหรือไม่ ?
👉 สามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้า
และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
🤔 ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิดหรือไม่ ?
👉 การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
🤔 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ ?
👉 ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว
(1) เป็นการทำตามสัญญา
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยหรือสถิติ
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง